วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

10 เอเลี่ยนสปีชี่ส์เมืองไทย ทำลายระบบนิเวศ

10 เอเลี่ยนสปีชี่ส์เมืองไทย ทำลายระบบนิเวศ
1.หอยเชอร์รี่


หอยเชอรี่ เดิมเป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อนปี พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ทว่าไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในปัจจุบัน

2.จอกหูหนูยักษ์






  จอก หูหนูยักษ์เป็นเฟิร์นลอยน้ำชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ แต่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยหลายปีแล้วเมื่อโตเต็มที่จะเบียดเสียดกันมากและซ้อนทับกันเป็นชั้นหนา 30-40เซนติเมตร โดยบริเวณที่มีจอกหูหนูยักษ์ขึ้นปกคลุมผิวน้ำอย่างหนาแน่นเป็นพื้นที่กว้าง จะไปแย่งพื้นที่พรรณพืชน้ำอื่นๆ ในท้องถิ่น ทั้งยังบดบังไม่ให้แสงแดดและออกซิเจนผ่านลงไปใต้ผิวน้ำได้ ทำให้พืชใต้น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้และตายลง
 
3.ปลาเทศบาล,ปลาซัคเกอร์หรือปลากดเกราะ




ปลากดเกราะเป็นปลาที่มีการนำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 เพื่อ ใช้กำจัดสาหร่ายและของเสียที่ตกค้างในตู้ปลา แต่เมื่อปลาเทศบาลเจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกินไป ผู้เลี้ยงก็นำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ และปลาก็สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี จนปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว เพราะไปมีผลคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา และไต้หวัน รวมทั้งในแม่น้ำโขงด้วย 

4.ผักตบชวา






 ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ โดย นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบันผักตบชวา เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป


5.หอยกระพงเทศ




หอยกะพงเทศ (Mytilopsis adamsi Morrison, 1946) เป็น หอยสองฝาที่มีต้นกำเนิดในตอนกลางของทวีปอเมริกด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค แต่มีการแพร่กระจายพันธุ์ รุกรานไปในประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่น เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับการแพร่กระจายนั้น คาดว่าน่าจะติดมากับน้ำในถังอับเฉาเรือเดินสมุทรที่มีตัวอ่อนของหอยกะพงเทศ เจริญเติบโตอยู่ หรือจากตัวเต็มวัยที่เกาะติดมากับตัวเรือ และได้มาแพร่พันธุ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณหาดแก้วลากูน เป็นบริเวณอยู่ใกล้กับท่าเรือน้ำลึก
6.ไมยราบยักษ์


สำหรับ ประเทศไทย ได้มีการนำเมล็ดไมยราบยักษ์จากประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาปลูกเป็นพืชคลุมดินในไร่ยาสูบบริเวณอำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2490ซึ่ง ไมยราบยักษ์ ที่นำเข้ามาปลูกนั้นสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศของ ประเทศไทยได้ดี ทำให้มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ไปตามแหล่งน้ำ และการคมนาคมขนส่ง จากพื้นที่ที่มีการระบาดของไมยราบในภาคเหนือสู่ประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัด ใกล้เคียง ตั้งแต่ตอนเหนือของแม่น้ำโขง เข้าไปในประเทศลาว และพม่า ทางตอนใต้ได้เข้าสู่จังหวัด ลำปาง ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และกระจายเข้าสู่ทุกภาคของประเทศในปัจจุบัน พบการแพร่ระบาดของไมยราบยักษ์เกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

7.ต้นสาบหมา




สาบหมา (Ageratina adenophorum) เป็น วัชพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าระบาดเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไร แต่ที่แน่นอนก็คือ สาบหมาระบาดเข้ามาจากพม่าและตอนใต้ของประเทศจีนถึงประเทศไทยในช่วงเวลาไม่ เกิน 30 ปีที่ผ่านมา โดยจะพบว่าระบาดในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-600 เมตร ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกันที่สาบเสือจะไม่สามารถเจริญได้ดี ถ้าระดับพื้นที่สูงไปกว่านั้น สาบหมาระบาดเฉพาะในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจะไม่พบในพื้นที่ราบ การระบาดพบมากในพื้นที่ภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทย เช่ย บริเวณยอดดอยสุเทพ ดอยปุย ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ เป็นต้น

8.ตะพาบไต้หวัน



ตะพาบไต้หวัน ตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx sinensis หรือ Pelodiscus sinensisไม่ ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบของจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รัสเซียเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea) แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร เมื่อยังเล็กใต้ท้องมีสีขาว มีนิสัยดุร้าย

9.เต่าแก้มแดงหรือเต่าญี่ปุ่น

  เต่าแก้มแดงเป็นเต่าที่ปรับตัวได้ดีมาก  สามารถอยู่ได้ในแหล่งน้ำหลายพื้นที่ของประเทศไทย  เพราะฉะนั้นจึงสามารถเบียดเบียนพื้นที่การหากินและวิถีชีวิตของเต่าพื้นเมืองของไทย  ไม่ว่าจะเป็นเต่าบึงหัวเหลือง , เต่าบัวและเต่าหับ  เป็นต้น  ในระยะยาวอาจส่งผลให้เต่าพื้นเมืองของบ้านเราสูญพันธุ์ไป

10.นากหญ้า



เดิม นากหญ้าเป็นสัตว์ในทวีปอัฟริกา ชาวไต้หวัน เป็นผู้นำนากหญ้าเข้ามาในประเทศไทย ตั้งฟาร์มเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดแรก ต่อมา จ.ส.อ.จรูญ พุ่มห่าน เป็นคนนำนากหญ้า เข้ามาเลี้ยงที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นคนแรกของจังหวัดพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2537 นากหญ้ามีความสามารถในการปรับตัวได้ดีมาก  จึงกลายเป็นศัตรูพืชและทำลายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรได้

10 เอเลี่ยนสปีชี่ส์ต่างประเทศ ทำลายระบบนิเวศ


1.OPUNTIA STRICTA






2.อีกัวนา





3.ปลาอัลลิเกเตอร์หรือปลาจระเข้



4.กบอเมริกา


 5.หญ้าเจ้าชู้ทะเล



6.ป่านศรนารายณ์ 


7.ปลาปิรันยา


8.จิ้งหรีด

9.ยุงลาย

10.สาหร่ายสีน้ำตาล